เพื่อให้ได้ระดับคะแนน 8 ใน IELTS ข้อสอบการเขียนส่วนที่ 2คุณจะต้องเขียนเรียงความที่มีคุณลักษณะเชิงบวกทั้งหมดที่อยู่ในเกณฑ์การประเมินการเขียนที่ระดับคะแนน 8 เรามาดูสิ่งเหล่านี้กันในตารางด้านล่าง
การตอบคำถามตามโจทย์มีความครบถ้วนสมบูรณ์ |
|
มีความสอดคล้องและความเชื่อมโยง |
|
การใช้คำศัพท์ที่หลากหลาย |
|
ความถูกต้องของหลักไวยากรณ์ |
|
ใช้รายละเอียดระดับคะแนนเป็นแนวทางพร้อม 8 ขั้นตอนเพื่อให้คุณไปถึงระดับคะแนน 8 ในข้อสอบการเขียนส่วนที่ 2
เราจะเริ่มกันที่การตอบตรงตามโจทย์ครบถ้วนสมบูรณ์ ก่อนจะพูดถึงเกณฑ์ทั้งหมดที่ผู้คุมสอบต้องการจะเห็นในคําตอบของคุณ
ขั้นตอนที่ 1: คําตอบเกี่ยวข้องกับคําถาม
เขียนคำตอบให้ตรงกับคำถาม อย่าเขียนเรียงความที่ใกล้เคียงกับหัวข้อที่คุณได้เตรียมไว้ก่อนหน้านี้ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าตัวอย่างและความคิดของคุณมีความเกี่ยวข้องกัน หากคุณสรุปแบบกว้าง ๆ มากเกินและไม่เฉพาะเจาะจงเพียงพอ จะมีผลต่อการนําเสนอความคิดของคุณต่อผู้คุมสอบ
สิ่งที่ควรทำ
ตรวจสอบให้แน่ใจว่าความคิดของคุณเกี่ยวข้องโดยตรงกับคําถาม
ใช้ความคิดและตัวอย่างที่คุณคุ้นเคยและเกี่ยวข้องโดยตรงกับหัวข้อ
ขยายคําตอบของคุณเพื่อรวมแนวคิดต่าง ๆ ที่จะสนับสนุนคําถาม
สิ่งที่ไม่ควรทำ:
นำเสนอข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้อง
ลงเสนอความเห็นอย่างกว้าง ๆ มากเกินไป
สร้างเรียงความแบบท่องจำ
นําเสนอการวิจัยหรือสถิติ ‘ล่าสุด’ ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อ “At least 41% of all men…”
ขั้นตอนที่ 2: ตอบคําถามให้ครบทุกส่วน
คุณต้องอ่านคําถามอย่างละเอียดและตรวจสอบให้แน่ใจว่าคำถามประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ กี่ส่วน คุณต้องตอบคําถามทุกส่วนเพื่อให้ทำได้ถึงระดับคะแนนที่ 6 หรือสูงกว่า
เรามาดูตัวอย่างคําถาม IELTS และดูว่าในแต่ละคำถามมีองค์ประกอบมีกี่ส่วน ที่คุณต้องแสดงความคิดเห็นของคุณ โปรดจําไว้ว่า เป็นสิ่งสําคัญมากที่จะนําเสนอจุดยืนที่ชัดเจนเมื่อตอบคําถามเพื่อแสดงให้เห็นว่าคุณเข้าใจคําถามที่ถูกถามและเพื่อทําให้จุดยืนนั้นชัดเจนตลอดเรียงความ
ประเภทคําถาม | มีกี่ส่วน | ต้องการความคิดเห็นหรือไม่ |
---|---|---|
To what extent do you agree or disagree with this statement? | คําถาม 1 ส่วน | ใช่ เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย หรือตัดสินใจว่าเหตุใดคุณจึงเห็นด้วย/ไม่เห็นด้วยอย่างเท่าเทียมกัน |
อภิปรายทั้งสองมุมมองและแสดงความคิดเห็นของคุณเอง | คําถาม 3 ส่วน - อภิปรายมุมมองทั้งสองอย่างตามที่ระบุ | ใช่ นําเสนอความคิดเห็นของคุณ อาจเป็นมุมมองใดมุมมองหนึ่งหรือทั้งสองมุมมองรวมกัน |
ทําไมจึงเป็นเช่นนั้น มีการให้เหตุผลสําหรับเรื่องนี้และวิธีแก้ปัญหาหรือไม่ | คําถาม 3 ส่วน | จุดยืนจะถูกนําเสนอถึงสาเหตุที่เป็นเช่นนั้น เหตุผลของปัญหาและวิธีการแก้ไขปัญหา |
Do the disadvantages of international tourism outweigh the advantages? | คําถาม 2 ส่วน | ใช่ คุณต้องพูดอย่างชัดเจนว่ามีข้อดีหรือข้อเสียมากกว่ากัน |
ทําไมจึงเป็นเช่นนั้น และมีผลกระทบใดต่อบุคคลและสังคม | คําถาม 3 ส่วน | ใช่ คุณต้องให้เหตุผลสําหรับคํากล่าวดังกล่าว และนําเสนอผลกระทบที่มีต่อ 1) บุคคล และ 2) สังคม |
สิ่งที่ควรทำ:
อ่านคําถามอย่างละเอียดและตรวจสอบว่าคำถามประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ กี่ส่วน
นําเสนอความคิดเห็นของคุณและสนับสนุนความคิดเห็นตลอดทั้งเรียงความ
หากถูกขอให้นําเสนอทั้งสองมุมมอง ให้ตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีการแสดงความเห็นในแต่ละมุมมองอย่างเท่าเทียมกัน (ความยาวย่อหน้าเท่ากัน)
ระวังเรื่องคำพหูพจน์ หากคุณถูกขอให้แสดง ‘ข้อได้เปรียบ’ คุณต้องนําเสนอข้อได้เปรียบอย่างน้อย 2 ข้อ
ระวังเรื่องคำว่า ‘และ’ คุณอาจจําเป็นต้องแสดงความคิดเห็นมากกว่าหนึ่งองค์ประกอบ
เขียนมากกว่า 250 คํา
สิ่งที่ไม่ควรทำ:
ละเว้นบางส่วนของคําถาม
สันนิษฐานว่าความคิดเห็นของคุณชัดเจน โดยใช้สรรพนามบุคคลที่หนึ่งในการแสดงความคิดเห็น เช่น ‘I think’
บอกผู้คุมสอบในสิ่งที่คุณจะพูดและสิ่งที่คุณพูดไปแล้ว
เขียนเรียงความสั้นเกินไป
ขั้นตอนที่ 3: จัดเรียงเรียงความของคุณอย่างมีเหตุผลด้วยลำดับความคิดเห็นที่ชัดเจนโดยใช้วลีเชื่อมโยง
ความคิดเห็นต้องมีการแสดงออกและเรียงลําดับอย่างชัดเจน ซึ่งเริ่มต้นจากบทนำไปยังบทสรุป
หากคุณถูกขอให้นําเสนอทั้งสองมุมมองพร้อมความคิดเห็นของคุณ ให้แสดงความคิดเห็นของคุณที่จุดเริ่มของเรียงความ แล้วดําเนินการต่อเพื่อนําเสนอทั้งสองมุมมอง จากนั้นคุณสามารถย้อนกลับมาที่ความคิดเห็นของคุณเองและสรุปเรียงความ นี่เป็นวิธีการที่สมเหตุสมผลในการนําเสนอแนวคิดเหล่านี้
สิ่งที่ควรทำ:
ใช้คําและวลีเชื่อมโยงหลากหลาย แต่อย่าใช้คําและวลีมากเกินไป
ใช้กริยาวิเศษณ์วลี แทนคำเชื่อมโยงสั้น ๆ พยางค์เดียว
ใช้การอ้างอิงและการแทนที่เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้คำซ้ำ (สิ่งนี้/พวกเขา/ความยุ่งยาก/ปัญหา)
ใช้เครื่องหมายวรรคตอนเพื่อทําให้การเขียนของคุณสอดคล้องกัน
ตรวจสอบให้แน่ใจว่าความคิดของคุณเรียงลําดับได้อย่างถูกต้อง
ตรวจสอบให้แน่ใจว่าความคิดของคุณมีเหตุผลและง่ายต่อการอ่านตามลำดับ
ใช้ย่อหน้าแยกต่างหากสําหรับบทนําและบทสรุป
ใช้หนึ่งย่อหน้าสําหรับแต่ละแนวคิดหรือหัวข้อ
สิ่งที่ไม่ควรทำ:
ใช้คําเชื่อมโยงพื้นฐานอย่าง firstly มากเกินไป (แทนที่จะทำแบบนั้น ลองการใช้ ‘The first reason for/ The primary reason for this’)
เริ่มทุกประโยคด้วยตัวเชื่อมโยง (พยายามใส่ไว้ในกลางประโยค เช่น “Some people believe, however, that individuals must also take responsibility for the environment” หรือ “I believe, on the other hand, that individuals do have a responsibility to…”)
การใช้ตัวเลข สัญลักษณ์ หรือตัวย่อ (1, 2, etc, &, +)
ใช้หัวเรื่องหรือหัวเรื่องย่อย
ขีดเส้นใต้คําหรือวลี
ใช้ย่อหน้าประโยคเดียว
เริ่มทุกประโยคด้วยคำเชื่อม
ขั้นตอนที่ 4: เรียบเรียงเรียงความเป็นย่อหน้า
ใช้ย่อหน้าต่าง ๆ เพื่อเรียบเรียงเรียงความของคุณให้กลายเป็นส่วนที่ชัดเจน ตรวจสอบให้แน่ใจว่าแต่ละย่อหน้ามีหัวข้อที่ชัดเจนและได้รับการพัฒนาโดยมีประโยคอย่างน้อยสองประโยค
คุณสามารถใช้ตัวย่อ “PEEL” เมื่อเขียนเรียงความของคุณ:
ประเด็น (Point) – แนะนําหัวข้อหรือประโยคหัวข้อของคุณ
ตัวอย่าง (Example) – ตัวอย่างที่สนับสนุนประเด็นของคุณ
อธิบาย (Explain) – ทําไมหลักฐานนี้ถึงสนับสนุนประเด็นของคุณ
เชื่อมโยง (Link) – การเปลี่ยนหัวข้อหรือย่อหน้าถัดไป
คุณต้องใช้ย่อหน้าเพียงพอที่จะแสดงการตอบสนองเชิงโครงสร้างอย่างชัดเจน นี่จะแสดงว่าคุณสามารถจัดระเบียบและนําเสนอความคิดและแนวคิดของคุณอย่างมีเหตุผล
ต่อไปนี้คือแนวคิดเกี่ยวกับจํานวนย่อหน้าที่คุณสามารถใส่ไว้ในเรียงความ:
ประเภทคําถาม | มีกี่ย่อหน้า | ย่อหน้า |
---|---|---|
To what extent do you agree or disagree with this statement? | 4/5 |
|
อภิปรายทั้งสองมุมมองและแสดงความคิดเห็นของคุณเอง | 5 |
|
ทําไมจึงเป็นเช่นนั้น มีการให้เหตุผลสําหรับเรื่องนี้และวิธีแก้ปัญหาหรือไม่ | 5 |
|
Do the disadvantages of international tourism outweigh the advantages? | 4 |
|
ทําไมจึงเป็นเช่นนั้น What effect does it have on the individual and the society? | 5 |
|
สิ่งที่ควรทํา:
ใช้ย่อหน้า
ใช้ตัวเชื่อมโยงระหว่าง และ ภายในย่อหน้าของคุณ
เว้นช่องว่างไว้ระหว่างแต่ละย่อหน้า (บรรทัด)
ใช้ย่อหน้าสําหรับแต่ละหัวข้อ
ใช้บทนําและบทสรุป
สิ่งที่ไม่ควรทำ:
ใช้ย่อหน้าประโยคเดียว
ใช้ย่อหน้ายาวมากที่ครอบคลุมทั้งหน้า (การสอบแบบกระดาษ)
ขั้นตอนที่ 5: ใช้คําศัพท์ที่ไม่ใช่คำศัพท์ทั่วไปและสะกดให้ถูกต้อง
คุณจะเห็นในรายละเอียดการให้คะแนนว่าคนที่เขียนได้ระดับคะแนน 8 ใช้ศัพท์ที่ไม่ค่อยเจอได้ทั่วไปได้อย่างมีทักษะ เมื่อเราเรียนรู้ภาษาหนึ่ง เราจะใช้คําศัพท์ทั่วไปและคําศัพท์ที่พบไม่บ่อย คําศัพท์ทั่วไป คือคําพูดและวลีที่เราใช้ทุกวันเพื่อกล่าวถึงประสบการณ์ส่วนตัวและพฤติกรรมประจําวัน คําศัพท์ที่พบไม่บ่อย จะใช้เมื่อเราพูดคุยถึงหัวข้อเฉพาะหรือเมื่อเราใช้ภาษาที่ไม่เป็นทางการ (วลี)
ไม่ควรใช้คําศัพท์ที่ล้าสมัยและไม่ใช้แล้วในการพูดประจําวัน หากคุณเลือกคําพ้องความหมาย ความหมายจะต้องเหมือนกันและต้องไม่เปลี่ยนความคิดที่นําเสนออยู่ ตัวอย่างเช่น วัยรุ่น/วัยหนุ่มสาวมีความหมายใกล้เคียงและสามารถใช้สลับกันได้ อย่างไรก็ตาม เด็กวัยหัดเดิน/ทารก มีความหมายค่อนข้างแตกต่างกัน
การจัดเรียงยังกล่าวถึงในระดับคะแนน 8 และสมมุติว่าคุณรู้ว่าคําใดรวมกันได้ และคําใดที่เหมาะสมที่จะใช้สําหรับหัวข้อที่แตกต่างกัน
หากคุณกําลังพูดถึงอาชญากรรมเด็ก คุณสามารถใช้คําว่า ‘เยาวชน’ เป็นคําที่ใช้ตามกฎหมายเพื่ออธิบายเด็กที่อายุต่ำกว่า 18 ปี
หากคุณใช้วลีกริยา โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณใช้บุพบทที่ถูกต้อง เนื่องจากการใช้นั้นสามารถเปลี่ยนความหมายได้:
throw out/away= ทิ้ง
throw up = อาเจียน/ป่วย
ควรใช้ภาษาถิ่น (ภาษาวัฒนธรรม) ก็ต่อเมื่อคุณเข้าใจอย่างถ่องแท้และตรงกับหัวข้อที่คุณกําลังพูดถึง
สิ่งที่ควรทํา:
ใช้ตัวเลือกคําที่ถูกต้อง
ใช้ภาษาที่เราใช้ในการพูดในชีวิตประจําวัน
ใช้คําที่คุณเข้าใจ
ใช้คําและวลีที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อ
ใช้การจัดวางและวลีคําพูด (คําที่ใช้ด้วยกันได้อย่างเป็นธรรมชาติ เช่น environmental pollution | major issue | promising future)
สิ่งที่ไม่ควรทำ
สะกดผิด
พิมพ์ผิด
สะกดคำแบบอเมริกันและอังกฤษ (คุณควรใช้การสะกดแบบใดแบบหนึ่ง)
ใช้คําหากคุณไม่เข้าใจหรือสะกดไม่ได้
ใช้คําที่ไม่เจาะจง เช่น ‘stuff/thing’
ใช้คําสแลง เช่น ‘gonna’
ใช้ภาษาที่ล้าสมัย [the masses| denizens | myopic view | Hitherto]
ใช้คําพ้องความหมายมากเกินไป คําหนึ่งก็เพียงพอแล้ว
ใช้ภาษาถิ่น/สำนวนซ้ำ ๆ ซาก ๆ
ใช้คำย่อ (can’t, doesn’t)
ขั้นตอนที่ 6: อย่าใช้ภาษา วลี หรือตัวอย่างที่ท่องจำมา
อย่าใช้ภาษา วลี หรือตัวอย่างใด ๆ ที่ท่องจำตลอดเรียงความของคุณ ซึ่งง่ายต่อผู้คุมสอบในการสังเกตเห็น นั่นแสดงถึงความไม่คล่องแคล่วในการเขียนของคุณ
ควรหลีกเลี่ยงการใช้วลี สำนวน สุภาษิตและสำนวนซ้ำ ๆ ซาก ๆ มากเกินไป ซึ่งคำเหล่านี้มีการใช้บ่อยครั้งในการพูด ซึ่งรวมถึงวลีเช่น:
The grass is always greener on the other side
Love is blind
Off the top of my head
Old is gold
A friend in need is a friend indeed
นอกจากนี้ ไม่ควรใช้คําศัพท์เหล่านี้เมื่อเขียน เนื่องจากมีความคลุมเครือและไม่จัดการโจทย์อย่างเหมาะสม คุณควรใช้ภาษาที่ชัดเจนและเลือกคําที่เหมาะสมซึ่งจะแสดงความคิดของคุณอย่างชัดเจนเสมอ
ไม่ดี | ดี | ไม่ดี | ดี |
---|---|---|---|
Nowadays | In recent times | Crux of the discussion | The main/key issue is… |
Can’t | cannot | Stuff/thing | ใช้คําที่ถูกต้อง! |
Controversial issue | Major issue | e.g. | For example, … |
The pros and cons | Benefits and drawbacks | Every coin has two sides/faces | There are both disadvantages and advantages… |
Firstly | The primary reason why | A double-edged sword | The solution can also cause issues as… |
Secondly | Lack of education is another reason why… | In a nutshell | In conclusion… |
ขั้นตอนที่ 7: ใช้โครงสร้างที่ซับซ้อนหลากหลาย
ที่ระดับคะแนน 8 มีการคาดหมายว่าคุณสามารถใช้โครงสร้างที่หลากหลายได้อย่างถูกต้องในการนําเสนอความคิดและความคิดเห็นของคุณ แสดงให้ผู้คุมสอบเห็นว่าคุณสามารถใช้โครงสร้างได้หลากหลายและทําให้แน่ใจว่าประโยคของคุณปราศจากข้อผิดพลาด
สิ่งสําคัญคือการใช้ประโยคที่ซับซ้อนและเรียบง่ายผสมกัน แต่จําไว้ว่าประโยคที่ซับซ้อนของคุณไม่ควรยาวและสับสน
เครื่องหมายวรรคตอนของคุณต้องถูกต้อง โดยใช้เครื่องหมายอัญประกาศ เครื่องหมายจุลภาค และมหัพภาคอย่างถูกต้อง
สามารถดูข้อผิดพลาดที่พบได้บ่อยที่สุดได้ที่ด้านล่าง:
ไวยากรณ์ | ข้อผิดพลาดที่พบบ่อย |
---|---|
อนุประโยค | การใช้คําสรรพนามไม่ถูกต้อง - who/that/which |
ประโยคเงื่อนไข | เลือกรูปแบบกริยาของประโยคไม่ถูกต้องสําหรับประเภทประโยคนั้น – ศูนย์, ประเภท 1,2,3 |
Present perfect/past | เลือกรูปแบบกริยาของประโยคไม่ถูกต้อง - had/have had |
ประโยคประธานเป็นผู้ถูกกระทำ | เลือกชนิดของ past participle ไม่ถูกต้อง |
Gerunds | มีข้อผิดพลาดในการใช้ -ing |
คํานามนับได้ | มีข้อผิดพลาดในการใช้คํานามเอกพจน์และพหูพจน์ |
คำนำหน้านาม | การใช้ a/ผิด หรือไม่ได้ใช้เลย |
ความสอดคล้องกันของประธาน/กริยา | The girls ‘are’ – เอกพจน์หรือพหูพจน์ |
บุพบท | การเลือกบุพบทที่ไม่ถูกต้อง การใช้บุพบทบอกตําแหน่งไม่ถูกต้อง และอื่น ๆ |
เครื่องหมายวรรคตอน | ใช้อย่างไม่ถูกต้อง หรือไม่ได้ใช้เลย |
ขั้นตอนที่ 8: รายการตรวจสอบ
ใช้รายการตรวจสอบต่อไปนี้เพื่อให้แน่ใจว่างานเขียนของคุณมีคุณลักษณะเชิงบวกทั้งหมดเพื่อได้ระดับคะแนน 8
การตอบคำถามครบถ้วนสมบูรณ์ |
|
มีความสอดคล้องและความเชื่อมโยง |
|
การใช้คำศัพท์ที่หลากหลาย |
|
ความถูกต้องของหลักไวยากรณ์ |
|
หากคุณปฏิบัติตาม 8 ขั้นตอนเหล่านี้ คุณจะไปถึงระดับคะแนน 8 ในข้อสอบการเขียนส่วนที่ 2 ได้อย่างไม่ยาก
Is IELTS writing hard?
IELTS writing is not so hard if you have a thorough understanding of the test format and are able to organise your thoughts into grammatically-correct, well-structured sentences. Obviously it requires a fair amount of practice. To make it easy, IDP has launched IELTS Prepare where you can access a range of preparation materials: from practice tests, sample answers, videos and articles, all the way to expert assessments, online courses, webinars and more.
IELTS writing for beginners
Join our free IDP IELTS webinars that are designed to give you a sense of what to expect during the IELTS Writing test and guide you towards reaching a high band score:
Improve your understanding of the writing test format and questions
Identify key points
Make your answers relevant
Organize your answers in a more coherent manner